เครื่องรางแห่งโซโลมอน

ในสถานที่สำคัญ ๆ ทางประเทศฝั่งยุโรป มักจะมีรูปห้าเหลี่ยม ดาวห้าแฉก และ สัดส่วนทองคำเป็นองค์ประกอบในสถาปัตยกรรมของพวกเขาอยู่เสมอ ๆ แต่ที่มลินไม่เข้าใจคือ ทำไมสัญลักษณ์ดาวห้าแฉก จึงถูกโยงไปเข้ากับ พิธีกรรมไสยเวทย์ มนตร์ดำ และ ภูติซาตานได้ มันเป็นสัญลักษณ์ ของไพรเออร์รี่ ออฟไซออน เป็นดาว ห้าแฉก (pentacular) สัญลักษณ์นี้เชื่อกันมาแต่โบราณ เป็นโครงสร้างอย่างหนึ่งที่ทรงพลังอำนาจในโลกสิ่งเร้นลับ เช่นเดียวกับรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ด้านบรรจบพบกันที่ยอดแหลม ดาว 5 แฉก นี้ปรากฏมากมายทั่วดินแดน ตะวันตกและตะวันออกกลาง บางแห่งเรียกว่า เงื่อนปมไม่รู้จบ (Endless Knot) บางแห่งเรียกว่า ดาวแห่งโซโลมอนเชื่อกันว่าสามารถปกป้องรักษาตนเองจากสิ่ง ชั่วร้าย แต่ในสมัยหนึ่งสัญลักษณ์นี้ถูกกล่าวหาว่า เป็นสัญลักษณ์ของปีศาจ ที่พวกพ่อมดหมอผี ใช้ในการเรียกวิญญาณชั่วร้าย แต่สิ่งที่ อัศวินนักรบ ค้นพบเป็นวิทยาศาสตร์ ยารักษาโรคที่สูญหายไปนาน เรียกกันว่า “ยาอายุวัฒนะ” ที่ช่วยเยียวยาบาดแผลให้หายได้ และฟื้นคืนกำลังอย่างรวดเร็ว จากการเล่นแร่แปรธาตุ แต่ในสมัยกลางของยุโรป กลับเรียกผู้ที่มีความรู้ในการปรุงยา และนักเล่นแร่แปรธาตุ นี้ว่า "พ่อมด" หรือ "แม่มด" จนป้ายสีพวกเหล่านี้เป็นผู้ใช้ไสยเวทย์หรือมนต์ดำ และเป็นสาวกของวิญญาณชั่วร้ายหรือ "ซาตาน" นั่นเองครับ
ภายหลังมีการกล่าวหาว่ากลุ่มอัศวินนักรบ เป็นกลุ่มศาสนานอกรีต และบูชา ซาตาน การบูชา บาโฟเมต นี้เอง ทำให้คริสตจักรสร้างเรื่อง ว่าบูชา ซาตาน โดยใช้รูปสัญลักษณ์หัวแพะ เป็นภาพเดียวกับซาตาน และมีพิธีกรรมประหลาด จึงทำให้เชื่อกันได้ง่ายต่อสายตาของประชาชนผู้ไม่ทราบความจริง เคยมีคนถามผมว่า ไสยศาสตร์กับ วิทยาศาสตร์ต่างกันอย่างไร อันที่จริงดูเหมือนต่างแต่มันก็ต่างกันในแบบเหมือนกัน ฟังแล้วงง แฮะ เช่นเดียวกับ สิ่งต่าง ๆ มีทั้งด้านสว่างและด้านมืด มี ขั้วบวก ก็ต้องมี ขั้วลบ อะไรประมาณนั้นนะ อันที่จริงมันเป็น "ตรรกะ" บางครั้งเรามองไปข้างหน้า เรามักจะเห็นอดีต ฟังเหมือนปรัชญา แต่มันไม่ใช่ปรัชญา สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว จากที่ไหน? เมื่อไหร่? ก็มีหลักวิธีอธิบายได้ทั้ง 2 อย่าง เป็น "ตรรกะ" ขอ งโลก มี 2 ด้านเสมอ แต่ ทั้งสองมีพื้นฐานมาจากที่เดียวกัน คือ ความเชื่อ เท่านั้น ที่ผู้ใดจะทำให้เชื่อตามฝ่ายนั้นได้มากกว่า มีสัดส่วน น้ำหนัก และแนวความคิดนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งนั้น ก็อาจกลายเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็เป็นได้
ขับเคลื่อนโดย Blogger.