ประวัติความเป็นมาอิสลาม



ประวัติความเป็นมา
ก่อนหน้าศาสดามูฮำหมัดจะได้ประกาศศาสนา ชาวอาหรับในดินแดนแถบคาบสมุทรอาหรับมีความนับถือในเทพเจ้าต่าง ๆ นับถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวต่าง ๆ แต่หลังจากการดำเนิดของศาสนาอิสลามแล้วความนับถือในเรื่องเหล่านี้ได้หมด สิ้นไป โดยหันมาเคารพนับถือ “พระอัลเลาะห์” เพียงพระองค์เดียว
ศาสดามูฮำหมัดถือกำเนิดขึ้นมาในปี พ.ศ. 1113 (ค.ศ.570) ที่เมืองมักกะห์ (เมกกะ) ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศซาอุดิอาระเบีย มีบิดาชื่ออับดุลเลาะห์ และมารดาชื่ออามีนะฮ์ ท่านเป็นกำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเยาว์ และอยู่ในความดูแลของลุง เมื่ออายุได้ 25 ปีได้สมรสกับนางคอดียะห์ เศรษฐีหม้ายชาวเมืองมักกะห์ มีบุตรด้วยกัน 6 คน บุตรชาย 2 คนได้เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย โดยเหลือแต่บุตรหญิง 4 คน เมื่ออายุได้ 40 ปี ได้เริ่มออกประกาศศาสนาและพบกับอุปสรรคมากมาย จนต้องลี้ภัยไปอยู่เมืองมาดินะฮ์ในปี ค.ศ. 622 ซึ่งต่อมาถือเป็นปีเริ่มศักราชใหม่ของอิสลาม ในอีก 8 ปีต่อมาท่านได้รวบรวมผู้คนกลับไปอีกเมืองมักกะห์ได้ ศาสนาอิสลามจึงได้เริ่มแพร่หลายออกไปสู่ที่อื่น ๆ ตั้งแต่บัดนั้น ศาสดามูฮำหมัดสิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 1175 ณ เมืองมาดินะฮ์

วิวัฒนาการของนิกายในศาสนาอิสลาม
ภายหลังจากการสิ้นชีวิตของศษสดามูฮำหมัดก็ได้เกิดปัญหาการจัดองค์กรของ มุสลิมขึ้น เพราะท่านศาสดามิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้ปกครอง (กาหลิบ) สืบต่อมา จึงเกิดความแตกแยกขึ้นระหว่างชาวเมืองมักกะห์กับชาวเมืองมาดินะฮ์ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาอิสลามแยกเป็นหลายนิกาย ดังนี้คือ 
1. นิกายซุนนี่ เป็นนิกายที่ถือว่าตนเองเป็นผู้เคร่งในแนวทางการปฏิบัติตามคัมภีร์อัล-
กุระอานและตามวจนะของศาสดามูฮำหมัด และให้ความเคารพกาหลิบ 4 คนแรกเท่านั้น
2. นิกายชีอะฮ์ เป็นนิกายที่ถือว่าตนเป็นพรรคพวกของอาลี ผู้เป็นญาติ บุตรเขยและ
สาวกของท่านศาสดามูฮำหมัดซึ่งเป็นกาหลิบองค์ที่ 4 ชาวชีอะฮ์จึงไม่ได้ถือว่ากาหลิบองค์อื่น ๆ เป็นกาหลิบอันแท้จริง


คัมภีร์อัล – กุรอาน
คัมภีร์อัล – กุระอาน ถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกคำ ทุกตัวอักษรเกิดจากการเปิดเผยและดลใจของพระเจ้าที่ประทานผ่านทางเทวทูตกา เบรียลมาให้แก่ศาสดามูฮำหมัดทีละเล็กละน้อย คลอดจนระยะเวลาประมาณ 22 ปี อัล – กุรอานเขียนเป็นภาษาอาหรับเพื่อให้ศาสดามูฮำหมัดจะได้เอาใจใส่และเข้าใจได้ ง่าย
คัมภีร์อัล – กุระอานเป็นหนังสือที่ประกอบด้วย 30 ภาค 114 บท และ 6,666 วรรค เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับทั้งแต่ละบุคคลและสังคม มีคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต การอยู่ร่วมกัน การแต่งงาน ความตายการทำมาหากิน และเรื่องการเมือง อย่างครบถ้วน



บทบัญญัติในอัล – กุระอานประกอบด้วย
1. ภาคทฤษฎีของความเชื่อมั่น คือเชื่อมั่นในพระอัลเลาะห์องค์เดียว ในเทวทูตต่าง ๆ ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของ สาดาทั้งหลาย ในบรรดาศาสนทูตของพระอัลเลาะห์ ในวันสิ้นสุดของโลกนี้ และการกำหนดสิ่งที่ดีและสิ่งที่ร้ายโดยพระอัลเลาะห์
2. ภาคปฏิบัติตามบทบัญญัติ คือ การปฏิบัติตนต่อพระอัลเลาะห์ว่าเป็นพระเจ้าพระองค์เดียวและมูฮำหมัดเป็นศาสน ทูตของพระองค์ การนมัสการพระอัลเลาะห์วันละ 5 ครั้ง การให้ทาน การถือศีลอด และการแสวงบุญที่นครมักกะห์
นอกจากคัมภีร์อัล – กุระอานแล้วยังมี อัล – ฮะดิส ซึ่งเป็นบันทึกที่รวบรวมคำสอนและแบบอย่างการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามูฮำ หมัดไว้ หากมีปัญหาการตีความในคัมภีร์อัล – กุระอานก็ให้ อัล – ฮะดิสช่วยตัดสินให้
หลักคำสอนและพิธีกรรมที่สำคัญทางศาสนา
หลักคำสอนของอิสลามเป็นวิถีชีวิตซึ่งรวมเอาทุกแง่ทุกมุมของชีวิตไว้ทั้งหมด ความเข้าศาสนาอิสลามจึงต้องเข้าใจหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติไปพร้อมกัน ถ้าขาอดย่างหนึ่งอย่างใดจะเรียกว่าเป็นมุสลิมที่แท้จริงไม่ได้
1. หลักศรัทธา เป็นความเชื่อมั่นด้วยจิตใจโดยปราศจากการระแวงสงสัยในเรื่องดังต่อไปนี้ 
1.1 เอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ชาวมุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในพระอัลเลาะห์แต่เพียงองค์เดียวโดยถือว่าเป็นพระ เจ้าสูงสุดผู้ทรงสร้างโลก ค้ำจุนโลกและฟื้นฟูสรรพสิ่ง พระองค์อยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ อยู่ในสภาวะเป็นนิจนิรันดร์และพระองค์จะเป็นผู้พิพากษามนุษย์ในวันสุดท้าย
1.2 เทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับศาสดาทั้งหลายในประวัติศาสดา เป็นวิญญาณที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสด้วยประสาทไม่ได้ และเป็นผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้า
1.3 คัมภีร์ เป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ทรงมอบให้แก่มนุษย์โดยผ่านทางศาสดาต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ 104 เล่ม ปัจจุบันพบเพียง 4 เล่ม คัมภีร์อัล – กุระอาน เป็นเล่มหนึ่งในจำนวนทั้งหมดซึ่งพระเป็นเจ้าทรงประทานผ่านศาสดามูฮำหมัด
1.4 ศาสนทูตหรือบรรดาศาสนาต่าง ๆ ชาวมุสลิมจะต้องให้เกียรติยกย่องบรรดาศาสดาต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ตั้งข้อแตกต่างระหว่างศาสดาทั้งหลายและไม่เลือกศาสดาองค์หนึ่งองค์ใดโดย เแพาะ เพราะในคัมภีร์อัล – กุระอานบันทึกว่า “เราได้ส่งศาสดาไปยังประชาชาติก่อนหน้าเจ้าแล้ว” เช่น นูห์ (Noah) และอีซา (Jesus) ส่วนศาสดาคนสุดท้ายคือท่านมูฮำหมัด
1.5 วันสุดท้ายและวันเกิดใหม่ ชาวมุสลิมเชื่อว่ามนุษย์มีดวงวิญญาณเป็นอมตะเมื่อร่างกายดับสูญ วิญญาณตะรับผลกรรมต่อไปและโลกมีวันดับสูญ ในวันนั้นพระอัลเลาะห์จะทรงเป็นผู้พิพากษามวลมนุษย์ตามกรรมดีกรรมชั่ว 
1.6 กฎสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระอัลเลาะห์ได้ทรงลิขิตวิถีชีวิตของแต่ละคนไว้แล้ว แต่มนุษย์จะต้องมีความพยายามทำทุกอย่างอย่างดีที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องไว้วางใจในพระอัลเลาะห์ผู้นำทางชีวิตของแต่ละคน ซึ่งจะทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีความสงบและความสุขตามสภาพของตน
2. หลักการอิสลาม พิธีกรรมทางศาสนาอิสลามส่วนใหญ่จะปฏิบัติในมัสยิดซึ่งเป็นสุสานโดยมอบกายลง กับพื้นเพื่อสักการะพระอัลเลาะห์ หลักปฏิบัติในการดำนินชีวิตมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายและที่สำคัญ มีดังนี้คือ
2.1 การปฏิบัติตน ว่าไม่มีพระเจ้าอื่นนอกจากพระอัลเลาะห์และมูฮำหมัดเป็นศษสนทูตของพระองค์ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกไปสู่ความเป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวมุสลิมจะต้องกล่าวประโยคนี้เสมอในการนมัสการ 5 เวลา
2.2 การปฏิบัติละหมาด ชาวมุสลิมทุกคนต้องทำละหมาดวันละ 5 ครั้งเพื่อเป็นการนมัสการ ของบคุณ ขอขมา และสรรเสริญพระอัลเลาะห์ และทุกวันศุกร์ ชาวมุสลิมจะไปมัสยิดเพื่อนมัสการพระเป็นเจ้าร่วมกัน พร้อมทั้งฟังเทศน์อันว่าก้วยหลักธรรมของอิสลาม
2.3 การถือศีลอด เป็นพิธีในเดือนรอมาฎอน ที่ชาวมุสลิมทุกคน (ยกเว้นผู้ป่วย ผู้เดินทาง และหญิงมีประจำเดือน) จะละเว้นจากการกิน การดื่ม การร่วมสังวาส ระหว่างรุ่งสางจนกระทั้งตะวันลับขอบฟ้า
2.4 การบริจาคทรัพย์ตามศาสนาบัญญัติ ชาวมุสลิมถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตนในอัตราร้อยละ 2.5 เพื่อนำไปช่วยเหลือคนอนาถา เด็กกำพร้า คนขัดสน ผู้มีหนี้สิน ผู้เผยแผ่ศาสนา และผู้เดินทางที่ขัดสน เรื่องนี้ถือเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ
2.5 พิธีฮัจญ์ เป็นพิธีการแสวงบุญที่นครมักกะห์ โดยชาวใสลิมจะเดินเวียนรอบวิหารกะฮ์บะ แล้วจะจูบหรือสัมผัสหินดำก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เพื่อแสดงความมีศรัทธาต่อพระอัลเลาะห์ นอกจากนั้นชาวมุสลิมจะต้องทำการเดินทางไปมาระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะฮ์ รวมถึงการกินนอนในที่เปล่าเปลี่ยว ความอดทน และอุตสาหะในการกระทำนี้ก็เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพระอัลเลาะห์ อย่างสูง 

ข้อห้ามในศาสนาอิสลาม
นอกจากหลักปฏิบัติที่กล่าวมา ชาวมุสลิมยังมีข้อห้ามอื่น ๆ ที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น ห้ามนำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงอัลเลาะห์ ห้ามกราบไหว้หรือเซ่นไหว้สิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามเชื่อในเรื่องดวง ห้ามเล่นเครื่องรางของขลัง ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด ห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง สัตว์ที่มีโรค ห้ามกินหมู ห้ามเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด ห้ามผิดประเวณีกับหญิงใด ๆ ห้ามการฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ห้ามประกอบอาชีพที่ไม่ชอบด้วยศีลธรรม ห้ามบริโภคอาหารที่หามาได้โดยไม่ชอบธรรม ห้ามกักตุนสินค้า ห้ามกินดอกเบี้ย และห้ามกระทำใด ๆ ที่จะสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเอง ต่อเพื่อนบ้านและต่อสังคมประเทศชาติ
ขับเคลื่อนโดย Blogger.