มันดาลา เครื่องลางแห่งพุทธภาวะ


"มันดาลา" ลวดลาย กาลจักรแห่งพุทธ ที่ปรากฏบนผืนภาพ

คำว่า ‘มันดาลา’มาจากภาษาสันสกฤต ‘มันดา (manda)’ ภาษาบาลีเรียกตันกะ แปลเป็นภาษาทิเบต ตรงกับคำว่า ‘dkyil’ ซึ่งหมายถึง ‘แก่นศูนย์กลาง

หรือที่นั่ง’โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า ‘โพธิ’ หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่า‘ลา

(la)’หมายถึง ‘วงล้อที่หลอมรวมแก่น’ ดังนั้น ‘มันดาลา’ จึงแปลว่า

‘ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง’และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์ (ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน)
สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่า ‘มณฑล’นั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน



ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือน

กับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรมที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อม





โดยทั่วไปมันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้น จะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย

1.กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์

2.กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ

3.กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้

4.กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ



มันดาลาสามารถสร้างได้จากกระดาษ ผ้า หรือทรายก็ได้ โดยมักเริ่มจากโครงประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตแบบง่ายๆ และค่อยๆเพิ่มรายละเอียดภายใน ตามแต่จินตนาการ 

หรือภาพนิมิตที่เห็น ดังนั้นการสร้างแต่ละครั้งสิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่มีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กำลังสร้าง

พระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพีธีต่างๆ บางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้ว การสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่างหนึ่ง 

มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การ สร้างมันดาลาไม่มีการร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กขนาดใด ดังนั้นมโนจิตในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง 

สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่องมนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วย ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ นานๆ จึงจะ จัดทีหนึ่ง ขณะทำพระลามะจะสวดมนต์ 

เพ่งกระแสจิตตลอด มีความพยายาม แนวแน่ อดทนสูง กว่าจะได้เป็นภาพแต่ละส่วน


ปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์เรื่องมันดาลามาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางจิต โดยให้ผู้รับการบำบัดวาดภาพมันดาลา 

ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอารมณ์และจิตใต้สำนึกของตัวตนภายใน ทำให้นักจิตแพทย์สามารถเข้าใจถึงปมปัญหาของคนไข้ได้มากขึ้น 

มันดาลาในยุคปัจจุบันจึงมีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคลจะสร้างออกมา


อย่างไรก็ดีภาพมันดาลาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง บางท่านอาจสนใจเพียงความสวยงามและความสงบสุขเมื่อได้พบเห็น 

แต่แท้จริงแล้วมันดาลาเป็นสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมของพระพุทธศาสนาออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ 

ความหมายที่แท้จริงซึ่งแฝงคำสอนในมันดาลาไม่ควรจะถูกมองข้ามไป 

และผู้ที่จะนำมันดาลาไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆควรมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางพุทธศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่องสูญญตา และหลักธรรมต่างๆเป็นอย่างดีเสียก่อน 

และควรตระหนักอยู่เสมอถึงสาระของมันดาลา และประโยชน์ที่ได้รับต่อการปฏิบัติฝึกจิตในการพิจารณา
ขับเคลื่อนโดย Blogger.