ชาวเน็ตโหวตอันดับ ๒ ให้ยกเลิกเรียนวิชา #พระพุทธศาสนา

 จากการสำรวจมาจากการแสดงความคิดเห็นจากชาวชุมชน Eduzones พี่เลยได้ทำการจัดอันดับวิชาที่ทุกคนเห็นควรว่าอยากให้ยกเลิกเรียนมากที่สุดมา 5 อันดับ คือ

ชุมชน Eduzones


1.ลูกเสือ-เนตรนารี
เป็นวิชาที่สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดกิจกรรม ซึ่งในการจัดการเข้าค่ายพักแรมในแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องมีการเตรียมสถานที่ เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองเงินในการซื้อยูนิฟอร์ม อุปกรณ์การเรียนเสริมต่าง ๆ และสุดท้ายวิชาลูกเสือ-เนตรนารีนั้นก็ไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีกด้วยค่ะ และไม่กี่วันที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความสลดใจเป็นอย่างมาก เพราะมีข่าวการเสียชีวิตของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี นับว่ายิ่งเป็นข้อสนับสนุนที่ว่าสมควรยกเลิกวิชานี้ที่สุดค่ะ
2.พระพุทธศาสนา
เป็นวิชาที่เน้นในการสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งแน่นอนว่านักเรียนไทยนั้นมีจำนวนล้านคน ทุกคนไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเหมือนกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นควรเปลี่ยนเป็นการสอนแบบศาสนาสากลมากกว่า และควรปลูกฝังความเป็นพุทธศาสนิกชนทางใจมากกว่าการเรียนท่องจำ
3.พลศึกษา
เป็นวิชาที่วัดศักยภาพทางร่างกาย ซึ่งผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพที่ไม่เท่ากัน และมีความถนัดในกีฬาที่แตกต่างกันออกไป เช่น ฟุตบอล มีทั้งคนที่ชอบเตะบอล และไม่ถนัดเตะบอลแต่อาจจะถนัดในกีฬาอื่น หากจะวัดด้วยเกณฑ์ที่เท่ากันก็จะทำให้คนที่ไม่ถนัดนั้นเสียเปรียบ
4.กระบี่กระบอง
เป็นวิชาที่เรียนแล้วไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ และไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งกระบี่กระบองนั้นอาจจะช่วยให้ฝึกฝนการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่หลาย ๆ คนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “พอเรียนจบก้ไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย”
5.ประวัติศาสตร์
เป็นวิชาที่มีเนื้อหาในบทเรียนแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เน้นการท่องจำ ทำให้เป็นวิชาที่ดูไม่น่าสนใจ และพี่เคยได้ยินมาว่าแต่ละประเทศเขียนประวัติศาสตร์ไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศก็จะเขียนให้ประเทศตนเองนั้นเป็นฝ่ายที่ดีกว่าอีกฝ่าย เพราะฉะนั้นบทเรียนในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์จึงไม่อาจที่จะปักใจเชื่อได้ 100% ว่าเป็นเนื้อหาที่ถูกต้อง
.
นอกจากการจัดอันดับวิชาที่ควรถูกยกเลิกจากความเห็นของทุกคนมาแล้ว แน่นอนว่าการที่เราอยากให้ยุบวิชานั้น ๆ เนี่ยไม่ใช่อยู่ ๆ ก็อยากให้ยุบไป แต่มันย่อมมีเหตุผลมาประกอบด้วยใช่ไหมคะ ทีนี้จะมาพูดถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินว่าวิชานั้น ๆ ควรถูกยกเลิก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
1. วิชาที่ไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในการเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษานั้นมักมีเป้าหมายที่ต้องการศึกษาเพื่อต่อยอดความรู้ไปสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งในรายวิชาที่ไม่ได้มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จึงมีการตั้งคำถามถึงบ่อย ๆ ว่า “เรียนวิชานี้ไปเพื่อออะไร ?” ซึ่งวิชาส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงคือ วิชาลูกเสือ-เนตรนารี, วิชากระบี่กระบอง
2. วิชาที่วัดศักยภาพทางร่างกาย วิชาที่วัดความแข็งแรงของร่างกายนั้น มักเป็นวิชาที่ใครหลาย ๆ คนที่อยากเดินหนี เพราะบางคนก็ไม่ถนัดในการใช้แรง เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่ร่างกายของเราทุกคนมีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ไม่สมควรนำสิ่งนั้นมาตัดสินว่าใครเก่งกว่าใคร วิชาที่วัดศักยภาพทางร่างกาย คือ วิชาพละศึกษา
3. วิชาที่มีมานาน วิชาเรียนที่มีเนื้อหาแบบเดิม ๆ วิธีการเรียนแบบเดิม ๆ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้มีความน่าสนใจได้ มักเป็นวิชาที่ใคร ๆ ก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น่าเบื่อสุด ๆ ซึ่งถ้าเกิดความเบื่อ แน่นอนว่าวิชานั้นจะไม่น่าเรียนอีกต่อไป คือ วิชาวรรณคดีไทย, วิชาประวัติศาสตร์
4. วิชาควรเปลี่ยนเป็นเลือกเสรี วิชาเลือกเสรีนั้นจะคล้าย ๆ กับวิชาชุมนุม แต่วิชาเลือกเสรีจะเป็นวิชาที่ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนเสริมตามความสนใจของตนเอง ซึ่งปัจจุบันวิชาที่ยังมีอยู่และทุกคนเห็นสมควรว่าวิชาเหล่านี้ควรเป็นวิชาเลือกเสรีมากกว่า คือ ลีลาศ, วิชานาฏศิลป์, วิชาพุทธศาสนา, Is
5. วิชาที่ควรเปลี่ยนเป็นกิจกรรมชุมนุม วิชาบางวิชาก็อาจจะไม่เหมาะสมเป็นวิชาเรียนพื้นฐานแต่เหมาะกับเป็นกิจกรรมชุมนุมเพื่อให้เด็กนักเรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่น วิชาหน้าที่พลเมือง, วิชาเศรษฐกิจ, วิชาศาสตร์พระราชา, บำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งวิชาเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมที่นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ
นี่ก็เป็นแค่การรวบรวมข้อมูลจากความเห็นเท่านั้นนะคะ น้อง ๆ คิดเห็นกันอย่างไรบ้างเอ่ย แต่พี่กลับเห็นด้วยกับความคิดเห็นจากคนส่วนใหญ่ว่า จริง ๆ แล้วทุกวิชาควรปรับเปลี่ยนเนื้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ลดการเรียนจากการท่องจำเป็นการปฏิบัติ วิชาเรียนบางวิชาเรียนควรเปลี่ยนจากวิชาพื้นฐานเป็นวิชาเลือกเสรี ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความสนใจและความถนัดของตนเอง และควรเป็นวิชาที่เรียนแล้วนำมาให้ต่อยอดในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง
ที่มา Eduzones

ไม่มีความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.